ทักษิณกับอาโรโย
ในที่สุด (หลังจากผ่านไปชาติกว่าๆ) ก็โพสท์ซะที ผู้อ่านทุกคน (ที่เข้ามาทีไรก็ไม่เคย up) อาจถือเอาเหตุการณ์อัศจรรย์อย่างนี้ไปแทงหวยก็ได้นะครับ ผมไม่คิดค่าลิขสิทธิ์จริงๆ บทความนี้ผมเขียนนานแล้วเหมือนกัน ลองเอามาให้อ่านขำๆ คลายเครียดในยามการเมืองร้อนระอุนะครับ
ทักษิณกับอาโรโย: คู่แฝดทางการเมือง
(Thaksin & Aroyo: Political Twin)
เคยมีหลายคนให้ข้อสังเกตว่าชาวไทยกับชาวฟิลิปปินส์นั้น มีลักษณะรูปร่างหน้าตาที่คล้ายกันมาก แม้ว่าในทางประวัติศาสตร์ของทั้ง 2 ชาติพันธุ์นั้น แทบไม่มีความเกี่ยวเนื่องกันเลย
ยิ่งหากเราเปรียบเทียบผู้นำคนปัจจุบันของทั้งสองประเทศ จะเห็นว่า พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร กับ นาง กลอเรีย มาคาปากัล อาโรโย นั้นมีความเหมือนกันมากในหลายประเด็น จนอาจเรียกได้ว่าเป็น “คู่แฝดทางการเมือง” ได้เลยทีเดียว
วันนี้ผมจึงขอนำเสนอประเด็นที่ผู้นำทั้งคู่มีลักษณะเดียวกัน ดังนี้ครับ
ยิ่งหากเราเปรียบเทียบผู้นำคนปัจจุบันของทั้งสองประเทศ จะเห็นว่า พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร กับ นาง กลอเรีย มาคาปากัล อาโรโย นั้นมีความเหมือนกันมากในหลายประเด็น จนอาจเรียกได้ว่าเป็น “คู่แฝดทางการเมือง” ได้เลยทีเดียว
วันนี้ผมจึงขอนำเสนอประเด็นที่ผู้นำทั้งคู่มีลักษณะเดียวกัน ดังนี้ครับ
การศึกษา
ทั้งคู่ได้รับการศึกษาถึงระดับสูงสุดคือ ปริญญาเอก โดยทักษิณ จบการศึกษาทั้งปริญญาโทและเอก ด้าน Criminal justice ในขณะที่อาโรโยจบการศึกษาทั้งระดับปริญญาโทและเอกด้าน เศรษฐศาสตร์ ที่สำคัญคือทั้งคู่เป็นผู้นำประเทศคนแรกในประศาสตร์ในประเทศของตนที่มีคำนำหน้าว่า “ดร.”
ทั้งคู่ได้รับการศึกษาถึงระดับสูงสุดคือ ปริญญาเอก โดยทักษิณ จบการศึกษาทั้งปริญญาโทและเอก ด้าน Criminal justice ในขณะที่อาโรโยจบการศึกษาทั้งระดับปริญญาโทและเอกด้าน เศรษฐศาสตร์ ที่สำคัญคือทั้งคู่เป็นผู้นำประเทศคนแรกในประศาสตร์ในประเทศของตนที่มีคำนำหน้าว่า “ดร.”
การขึ้นสู่อำนาจ
ทั้งคู่ขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำประเทศใน ปีเดียวกันคือ พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) และเดือนเดียวกันคือ เดือนมกราคม ทักษิณชนะการเลือกตั้งโดยพรรคไทยรักไทยได้รับคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง ขณะที่อาโรโยเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์หลังการลาออกของอดีตประธานาธิบดี โจเซฟ เอสตราดา ในเดือนเดียวกันนั้นเอง
ทั้งคู่ขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำประเทศใน ปีเดียวกันคือ พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) และเดือนเดียวกันคือ เดือนมกราคม ทักษิณชนะการเลือกตั้งโดยพรรคไทยรักไทยได้รับคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง ขณะที่อาโรโยเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์หลังการลาออกของอดีตประธานาธิบดี โจเซฟ เอสตราดา ในเดือนเดียวกันนั้นเอง
ฐานอำนาจ
ทั้งคู่อาจเรียกได้ว่าเป็นตัวแทนที่มาจากกลุ่มทุนตัวจริงเสียงจริง (ที่ไม่ใช่เพียงแค่เอานายทุนมาสนับสนุนพรรค) อาโรโยเป็นตัวแทนจากกลุ่มเศรษฐีที่ดิน และเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ ส่วนทักษิณนั้นไม่ต้องบอกก็รู้ว่ารวยมาจากธุรกิจอะไร !!!
การดำเนินนโยบาย
ทั้งทักษิณและอาโรโยต่างดำเนินนโยบายด้านความมั่นคงอย่างเข้มงวด ทั้งกลุ่มก่อการร้าย อิทธิพลท้องถิ่น การคอร์รัปชั่น และยาเสพติด แต่ดูเหมือนว่าความเข้มงวดนั้นกลับส่งผลให้ความมั่นคงของประเทศยิ่งแย่ลง ในขณะที่นโยบายด้านเศรษฐกิจนั้น อาโรโยชื่นชมแนวคิดแบบทักษิโณมิกส์ (Thaksinomics) มาก จนต้องการนำเป็นแบบอย่างในการดำเนินแนวนโยบายในฟิลิปปินส์ !!!
อิทธิพลของคู่ชีวิต
คู่ชีวิตของทั้งคู่ล้วนมีบทบาทในระดับสูงเมื่อเทียบกับผู้นำประเทศคนก่อนๆ ของทั้งสองประเทศ โดยโฮเซ อาโรโย มีส่วนสนับสนุนกลอเรีย อาโรโยอย่างมาก (รวมทั้งมีส่วนทำให้กลอเรีย อาโรโย ตกในที่นั่งลำบากจากกรณีคอร์รัปชั่นของเขาด้วย) ทางด้านคุณหญิงพจมาน นั้นก็มีบทบาทต่อการตัดสินใจของทักษิณอย่างมาก ถึงขนาดที่ทักษิณเคยกล่าวว่า “หากผมไม่มีคุณหญิงพจมาน คงมาไม่ได้ถึงหนึ่งในสี่ของปัจจุบัน”
การสั่นคลอนของอำนาจ
ทั้งคู่ถูกสั่นคลอนอำนาจในวันเดียวกัน คือวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 โดยอาโรโยถูกกลุ่มกบฎพยายามโค่นล้ม ส่วนทักษิณก็ประกาศยุบสภาในวันเดียวกัน ดูเหมือนว่าเหตุการณ์จะต่างกันที่ฝ่ายอาโรโยถูกสถานการณ์บีบบังคับ ในขณะที่ฝ่ายทักษิณนั้นเป็นผู้ตัดสินใจยุบสภาด้วยตนเอง แต่ผลลัพธ์ก็เหมือนกันคือทั้งคู่สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ โดยอาโรโยประกาศกฎอัยการศึกษา และจับกุมผู้ต้องสงสัยในข้อหากบฏได้ ส่วนทักษิณ (?) ก็จะให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เมษายน ซึ่งผลลัพธ์นี้สะท้อนถึงความเหมือนกันอีกอย่างของทั้งคู่คือ…
ทั้งทักษิณและอาโรโยต่างก็หวงแหนสมบัติของตน… โดยเฉพาะ “เก้าอี้”
ทั้งคู่อาจเรียกได้ว่าเป็นตัวแทนที่มาจากกลุ่มทุนตัวจริงเสียงจริง (ที่ไม่ใช่เพียงแค่เอานายทุนมาสนับสนุนพรรค) อาโรโยเป็นตัวแทนจากกลุ่มเศรษฐีที่ดิน และเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ ส่วนทักษิณนั้นไม่ต้องบอกก็รู้ว่ารวยมาจากธุรกิจอะไร !!!
การดำเนินนโยบาย
ทั้งทักษิณและอาโรโยต่างดำเนินนโยบายด้านความมั่นคงอย่างเข้มงวด ทั้งกลุ่มก่อการร้าย อิทธิพลท้องถิ่น การคอร์รัปชั่น และยาเสพติด แต่ดูเหมือนว่าความเข้มงวดนั้นกลับส่งผลให้ความมั่นคงของประเทศยิ่งแย่ลง ในขณะที่นโยบายด้านเศรษฐกิจนั้น อาโรโยชื่นชมแนวคิดแบบทักษิโณมิกส์ (Thaksinomics) มาก จนต้องการนำเป็นแบบอย่างในการดำเนินแนวนโยบายในฟิลิปปินส์ !!!
อิทธิพลของคู่ชีวิต
คู่ชีวิตของทั้งคู่ล้วนมีบทบาทในระดับสูงเมื่อเทียบกับผู้นำประเทศคนก่อนๆ ของทั้งสองประเทศ โดยโฮเซ อาโรโย มีส่วนสนับสนุนกลอเรีย อาโรโยอย่างมาก (รวมทั้งมีส่วนทำให้กลอเรีย อาโรโย ตกในที่นั่งลำบากจากกรณีคอร์รัปชั่นของเขาด้วย) ทางด้านคุณหญิงพจมาน นั้นก็มีบทบาทต่อการตัดสินใจของทักษิณอย่างมาก ถึงขนาดที่ทักษิณเคยกล่าวว่า “หากผมไม่มีคุณหญิงพจมาน คงมาไม่ได้ถึงหนึ่งในสี่ของปัจจุบัน”
การสั่นคลอนของอำนาจ
ทั้งคู่ถูกสั่นคลอนอำนาจในวันเดียวกัน คือวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 โดยอาโรโยถูกกลุ่มกบฎพยายามโค่นล้ม ส่วนทักษิณก็ประกาศยุบสภาในวันเดียวกัน ดูเหมือนว่าเหตุการณ์จะต่างกันที่ฝ่ายอาโรโยถูกสถานการณ์บีบบังคับ ในขณะที่ฝ่ายทักษิณนั้นเป็นผู้ตัดสินใจยุบสภาด้วยตนเอง แต่ผลลัพธ์ก็เหมือนกันคือทั้งคู่สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ โดยอาโรโยประกาศกฎอัยการศึกษา และจับกุมผู้ต้องสงสัยในข้อหากบฏได้ ส่วนทักษิณ (?) ก็จะให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เมษายน ซึ่งผลลัพธ์นี้สะท้อนถึงความเหมือนกันอีกอย่างของทั้งคู่คือ…
ทั้งทักษิณและอาโรโยต่างก็หวงแหนสมบัติของตน… โดยเฉพาะ “เก้าอี้”
4 Comments:
อยู่บ้านว่างๆ ก็เลยเขียนเรื่องทักษิณกับอาราโยอย่างนั้นหรือ แนวมากๆ เลยนะ
ว่าแต่ไม่อยากแปะแถบเหมือนเราบ้างเหรอ
เขียนเข้าใจง่ายดีนะ สำหรับคนที่ความรู้เรื่องต่างประเทศติดเอฟแบบเรา
ทักกี้อาจจะไม่ได้หวงเก้าอี้นะ แต่บังเอิญนั่งบนหลังเสืออ่ะ ลงลำบากไปหน่อย หุหุ
แล้วปิ๊กเมก้าแดนซ์นี่ทำไมมาไวจัง
โปรโมต กระพ้ม หน้าด้านๆตรงนี้เลยครับ ไอ้นัท
de009.blogspot.com
Post a Comment
<< Home